Re-Pelletizing
Re-Pelletizing
เมื่อพูดถึงพลาสติก คุณคิดถึงอะไรบ้าง ?

ปัจจุบันทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศในโลกที่สามได้ให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขและลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งใช้มาตรการที่หลากหลาย ทั้งห้ามใช้ทุกรูปแบบ ห้ามเพียงบางส่วนหรือเก็บภาษีถุงพลาสติกประเภทที่ใช้แล้วทิ้ง ซึ่งมีประมาณ 40 ประเทศ เช่น จีน อังกฤษ อิตาลี วันดา มอริเตเนีย โดยในปี พ.ศ. 2559 กาะแนนทักเก็ต หรือ Nantucket ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ ในสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกเป็นแห่งแรก
แนวทางการนำขยะพลาสติกมาใช้ให้เป็นประยชน์ ได้รับการคิดคั้นขึ้นโดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในประเทศสกอตแลนด์ โดยมีวิศวกรที่รู้จักกันในชื่อ โทบี แมคคาร์ทนีย์ ได้ตั้งธุรกิจสตาร์ทอัที่ใช้ขยะพลาสติกในท้องถิ่นแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติกสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างถนน โดยมีราคาย่อมเยาและทนทานกว่านนทั่วไป โทบี แมคคาร์ทนีย์เล่าว่า เขาได้แนวคิดเรื่องนี้หลังจากที่ได้เห็นข่าวเกี่ยวกับคนอินเดียนำพลาสติกมาเผาเพื่ออุดหลุม บ่อตามท้องถนน จากแนวคิดดังกล่าวจึงได้พัฒนากรรมวิธีทางอุตสาหกรรมขึ้นมา โดยปรกติส่วนประกอบของถนนทั่วไป เป็นหิน ทราย หินปูน 90% และอีก 10% คือยางมะตอยจากกรลั่นน้ำมันดิบ โดยยางมะตอยทำหน้าที่ยืดส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน แต่ แมคคาร์ทนีย์ บอกว่า บริษัทของเขาใช้เม็ดพลาสติกที่ทำจากขยะพลาสติกที่ได้จากครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม และภาคธุรกิจมาทดแทนยางมะตอย
โครงการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโลก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดให้มีการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปมีจิตสำนึกในการลดการใช้พลาสติก โดยให้ส่ง Infographic หัวข้อ หมดมลพิษพลาสติก(End Plastic Pollution) ในวันคุ้มครองโลก (Earth Day 2018) ที่ผ่านมา และมีผู้ให้ความสนใจส่งผลงาน Infographic เข้าร่วมกิจกรรมมากมาย ดังตัวอย่างในภาพ 7 จึงเห็นได้ว่า ความร่วมมือในการลดการใช้พลาสติกของประชาชนสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเราสร้างความตระหนักในปัญหาของพลาสติกกันอย่างจริงจังทั่วประเทศ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะให้ความสำคัญเรื่องปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจัง
02 April 2025
Viewed 17 time